สุขภาพเกี่ยวกับหู

อาการหูตึง

เราเคยได้ยินคำว่าหูตึงกันมาบ้างแล้วในชีวิต แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าระดับไหนถึงเรียกว่าหูตึง เพราะในทางการแพทย์จะต้องมีการวัดระดับที่มีค่ามาตรฐานเป็นที่ตั้ง เพื่อให้สะดวกต่อการรักษา และในปัจจุบันเทคโนโลยีก็พัฒนาไปได้ไกลมาก ทำให้การตรวจรักษาเป็นได้อย่างง่ายมากขึ้น 

สำหรับระดับการได้ยินเพื่อทดสอบว่าคุณอยู่ในเกณฑ์ไหน ปกติ หรือว่าหูตึง และเมื่อเข้าข่ายว่าหูตึง คุณอยู่ในเลเวลที่เท่าไหร่ ??? มาเช็กกันค่ะ 

1.)ได้ยินเสียงพูดคุยในระดับ  0-25 เดซิเบล คือปกติ

2.)ไม่สามารถได้ยินเสียงกระซิบ  มีระดับการได้ยินที่ 26- 40 เดซิเบล คือหูตึงน้อย

3.)ไม่ได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ  ระดับเสียงเพิ่มเป็น 41-55 เดซิเบล คือหูตึงปานกลาง

4.)ไม่ได้ยินแม้คนที่พยายามพูดเสียงดัง ต้องใช้เสียงดังระดับ 56-70 เดซิเบล คือหูตึงมาก

5.)เมื่อตะโกนก็ยังไม่ได้ยิน   ด้วยระดับเสียง 71-90 เดซิเบล คือหูตึงขั้นรุนแรง

6.)หากต้องใช้เสียงดังมากกว่า 91 เดซิเบลขึ้นไป คือหูหนวก

เมื่อตรวจสอบแล้วว่าอาการหูตึงอยู่ในระดับไหน การรักษาจะเริ่มขึ้นในทันที บางรายอาจแค่ใช้เครื่องช่วยฟัง แต่บางรายอาจต้องทำการผ่าตัด ซึ่งต้องแล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์เฉพาะทาง และจำเป็นอย่างมากที่คนมีอาการหูตึงจะต้องได้รับการรักษา เพื่อป้องกันโรคอื่นที่อาจตามมาได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด เป็นต้น 

ในปกติแล้วที่พบบ่อยจะเป็นผู้สูงอายุ ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ไม่ค่อยพบในวัยเด็กหรือวัยรุ่น เว้นแต่ว่าคุณจะอาศัยหรือมีไลฟ์สไตล์ที่อยู่ในความเสี่ยง เช่น บ้านใกล้โรงงานที่มีเสียงดัง ทำงานในสถานที่เสียงดังเกินกำหนด โดยปราศจากเครื่องมือป้องกัน ทั้งหมดนี้ทำให้คนที่อายุน้อยบางคนมีอาการหูตึงได้

สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการหูตึง ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามวัย มีระดับการได้ยินที่ไม่รุนแรงมาก จะเน้นที่การซื้อเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ชีวิต แต่สำหรับคนที่อยู่ในภาวะรุนแรงจะต้องให้แพทย์ทำการประเมินและรักษาอย่างทันท่วงที และถ้าหากว่าไม่มีทางรักษาในเรื่องร่างกายแล้ว การรักษาสภาพจิตใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ 

หากผู้สูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยลดภาวะความเครียดได้เป็นอย่างดี และจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่า ไม่เป็นภาระลูกหลาน และใช้ชีวิตได้โดยไม่เครียดจนเกินไป ส่วนการดูหนังดูละคร อาจะต้องหาเรื่องที่มีซับภาษาไทยมาให้ดูไปก่อน เพื่อให้ชีวิตยังคงไม่ขาดสิ่งบันเทิง 

 

สนับสนุนเรื่องราวโดย  เครื่องช่วยฟัง